วันพุธที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2557

เหรียญพระครูพินิจสมณวัตร ชัยภูมิ ปี๒๔๙๖































เหรียญหลวงปู่เพิ่ม วัดกลางบางแก้ว ปี26 เหรียญนี้สร้างในคราวงานทำบุญวันเกิดอายุครบ 98 ปีครับ ถือเป็นเหรียญรุ่นสุดท้ายของหลวงปู่เพิ่มครับ




































































พระกริ่งหลวงพ่อ คูณ ปริสุทโธ รุ่น ทองคูณ เนื้อนวะ สร้างปี 2536 สวยๆพร้อมกล่องเดิมๆรุ่นนี้สร้างขึ้นเพื่อเเจกเป็นที่ระลึกเปิดป้ายอาคาร ทองคูณอุปถัมภ์ โรงเรียนวัดบ้านไร่ที่หลวงพ่ออุปถัมภ์อยู่



































พระสมเด็จอินโดจีน วัดสุทัศน์ ปี๒๔๘๔ สร้างด้วยเนื้อผงวัดระฆังที่แตกหักชำรุดจำนวนมากล้วนๆ มาบดสร้างใหม่ และได้แกะพิมพ์พระขึ้นมาใหม่ และได้กราบเรียนสมเด็จพระสังฆราชแพเพื่อขออนุญาตนำพระเข้าปลุกพิธีอินโดจีน พิธีในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2485 ที่วัดสุทัศน์ โดยมีสมเด็จพระสังฆราชแพ เป็นองค์ประธาน และท่านเจ้าคุณศรี สนธิ์ เป็นแม่งาน และมีพระเกจิอาจารย์ชื่อดังร่วมนั่งปรกปลุกเสก 108 องค์































พระสมเด็จไกเซอร์อินโดจีน หลังยันต์ใหญ่ วัดสุทัศน์ฯ จัดสร้างโดย พระอาจารย์สุพจน์ ชาติปาโล ( พระครูพุทธมนต์วราจารย์ ) พระสมเด็จพิมพ์นี้สร้างที่วัดสุทัศน์ฯ เมื่อปี 2484 สร้างด้วยเนื้อผงวัดระฆังที่แตกหักชำรุดจำนวนมากล้วนๆ มาบดสร้างใหม่ และได้แกะพิมพ์พระขึ้นมาใหม่ และได้กราบเรียนสมเด็จพระสังฆราชแพเพื่อขออนุญาตนำพระเข้าปลุกพิธีอินโดจีน 

พุทธาภิเษกใหญ่วาระที่ 1
พิธีในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2485 ที่วัดสุทัศน์ โดยมีสมเด็จพระสังฆราชแพ เป็นองค์ประธาน และท่านเจ้าคุณศรี สนธิ์ เป็นแม่งาน 
พระเกจิอาจารย์ชื่อดังร่วมนั่งปรกปลุกเสก 108 องค์ รายนามดังนี้
1.สมเด็จพระสังฆราชแพ วัดสุทัศน์ 2.ท่านเจ้าคุณศรีสนธิ์ 3.หลวงพ่อจาด วัดบางกระเบา 4.หลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก 
5.หลวงปู่นาค วัดระฆัง 6.หลวงปู่จันทร์ วัดนางหนู 7.หลวงพ่อดิ่ง วัดบางวัว 8.หลวงพ่อทองสุข วัดโตนดหลวง 9.หลวงพ่อแช่ม วัดตากล้อง 10. หลวงปู่เผือก วัดกิ่งแก้ว 11.หลวงพ่อโอภาสี อาศรมบางมด 12.หลวงพ่อรุ่ง วัดท่ากระบือ 13.หลวงพ่อแฉ่ง วัดบางพัง 14.หลวงพ่ออี๋ วัดสัตหีบ 15.หลวงพ่ออิ่ม วัดหัวเขา 16.หลวงพ่ออั้น วัดพระญาติ 17. หลวงพ่อเหลือ วัดสาวชะโงก 18.พระพุทธโฆษาจารย์เจริญ วัดเทพศิรินทร์ 19.หลวงพ่อพุ่ม วัดบางโคล่ 20.หลวงพ่อติสโสอ้วน วัดบรมนิวาส21.สมเด็จพระสังฆราชชื่น วัดบวรนิเวศ 22.พระพุฒาจารย์นวม วัดอนงค์ 23.หลวงพ่อเส็ง วัดกัลยา 24.หลวงพ่อเปลี่ยน วัดใต้ 25.หลวงพ่อนอ วัดกลางท่าเรือ 26.หลวงพ่อเล็ก วัดบางนมโค 27.หลวงพ่อแจ่ม วัดวังแดงเหนือ 28.หลวงพ่อช่วง วัดบางแพรกใต้ 29.หลวงพ่ออาจ วัดดอนไก่ดี 30.หลวงพ่อกลิ่น วัดสพานสูง 31.สมเด็จพระสังฆราชอยู่ วัดสระเกศ 32.หลวงพ่อเชย วัดเจษฎาราม 33.หลวงพ่อปาน วัดเทพธิดาราม 34.หลวงพ่อเซ็ก วัดทองธรรมชาติ 35.หลวงพ่อเจีย วัดพระเชตุพน36. หลวงพ่อเผื่อน วัดพระเชตุพน 37.หลวงพ่อหลิม วัดทุ่งบางมด 38. หลวงพ่อแพ วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ พิษณุโลก39.หลวงพ่อสอน วัดพลับ 40.หลวงพ่อเฟื่อง วัดสัมพันธวงศ์ 41.หลวงพ่อบัว วัดอรุณ 42. หลวงพ่อนาค วัดอรุณ 43.หลวงพ่อปลั่ง วัดคูยาง 44.หลวงพ่อชุ่ม วัดพระประโทน 45.หลวงพ่อสนิท วัดราษฎร์บูรณะ 46.หลวงพ่อเจิม วัดราษฎร์บูรณะ47.หลวงพ่อสุข วัดราษฎร์บูรณะ 48.หลวงพ่ออาคม สุนทรมา วัดราษฎร์บูรณะ 49.หลวงพ่อดี วัดเทวสังฆาราม 50.หลวงพ่อประหยัด วัดสุทัศน์ 51.หลวงพ่อปลอด วัดหลวงสุวรรณ 52. หลวงพ่ออิ่ม วัดชัยพฤกษ์มาลา 53.หลวงพ่อเปี่ยม วัดเกาะหลัก54. หลวงพ่อทอง วัดดอนสะท้อน 55.หลวงพ่อครุฑ วัดท่อฬ่อ 56.หลวงพ่อกลีบ วัดตลิ่งชัน 57.หลวงพ่อทรัพย์ วัดสังฆราชาวาส 58.หลวงพ่อแม้น วัดเสาธงทอง 59.หลวงปู่รอด วัดวังน้ำวน 60.หลวงพ่อสาย วัดพยัคฆาราม 61.หลวงพ่อเส็ง วัดประจันตาคาม 62.หลวงพ่อพิศ วัดฆะมัง 63.หลวงพ่ออ่ำ วัดหนองกระบอก 64.หลวงพ่อหมา วัดน้ำคือ 65. หลวงปู่จันทร์ วัดบ้านยาง66.หลวงปู่เหมือน วัดโรงหีบ 67.หลวงปู่เหรียญ วัดหนองบัว 68.หลวงพ่อฉาย วัดพนัญเชิง 69.หลวงพ่อปลื้ม วัดปากคลองมะขามเฒ่า 70.หลวงพ่อแนบ วัดระฆัง 71.หลวงพ่อเลียบ วัดเลา 72.หลวงพ่อพักตร์ วัดบึงทองหลาง 73.หลวงพ่อสอน วัดลาดหญ้า 74.หลวงปู่เผือก วัดโมรี 75.หลวงพ่อผิน วัดบวรนิเวศ 76. หลวงพ่อเจียง วัดเจริญธรรมาราม 77.หลวงพ่อทองอยู่ วัดประชาโฆษิตาราม 78.หลวงพ่อไวย์ วัดดาวดึงส์ 79.หลวงพ่อกลึง วัดสวนแก้ว 80. หลวงพ่ออ่ำ วัดวงฆ้อง 81.หลวงปู่จันทร์ วัดคลองระนง 82.หลวงพ่ออ๋อย วัดไทร 83.หลวงพ่อศรี วัดพลับ 84.พระอาจารย์เชื้อ วัดพลับ 85. หลวงพ่อพริ้ง วัดบางประกอก 86.หลวงปู่ใจ วัดเสด็จ 87.หลวงพ่อพริ้ง วัดราชนัดดา 88.หลวงพ่อขำ วัดตรีทศเทพ 89.หลวงพ่อหนู วัดปทุมวนาราม90.หลวงพ่อทองคำ วัดปทุมคงคา 91.หลวงพ่อเจียง วัดเจริญสุธาราม 92.หลวงพ่อกรอง วัดสว่างอารมณ์ 93.หลวงพ่อเนียม วัดเสาธงทอง 94.หลวงพ่อบุญ วัดอินทราราม 95.หลวงพ่อเปลี่ยน วัดบึง 96. หลวงพ่อฉ่ำ วัดท้องคุ้ง 97.หลวงพ่อพรหมสรรอด วัดบ้านไพร 98. หลวงปู่จันทร์ วัดโสมนัสวิหาร 99.หลวงพ่อโสม วัดราษฎร์บูรณะ 100. หลวงพ่อบุตร วัดบางปลากด101.หลวงพ่อโต วัดบ้านกล้วย 102. หลวงพ่อทองอยู่ วัดบางหัวเสือ 103.หลวงพ่อวงศ์ วัดสระเกศ 104. พระอาจารย์พงษ์ วัดกำแพง 105.พระอธิการชัย วัดเปรมประชา 106. หลวงปู่รอด วัดเกริ่น 107.หลวงพ่อเที่ยง วัดบางหัวเสือ 108.หลวงพ่อเดิม วัดหนองโพ (ตัวท่านไม่ได้มาร่วมปลุกเสก แต่จารแผ่นทองเหลือง ทองแดงมาร่วมพิธี)

พุทธาภิเษกใหญ่วาระที่ 2
เมื่อปี พ.ศ.2506 ยังนำมาเข้าพิธีที่วัดประสาทฯประกอบพิธีพุทธาภิเษก 3 วัน 3 คืน 
เมื่อวันที่ 13-14-15 พย. 2506 และในวันที่ 16 พย. 2506 เวลา 5 โมงเย็น อาราธนาพระคณาจารย์ 108 รูป ร่วมมหาพุทธาภิเษก พระเกจิอาจารย์ที่เรืองเวทย์ด้านคาถาอาคมมาร่วมพิธีปลุกเสกมากกว่า 108 รูป อาทิ เช่น อาจารย์ทิม วัดช้างให้ ,หลวงพ่อน้อย วัดธรรมศาลา ,หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี ,หลวงปู่นาค วัดระฆัง ,หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม ,หลวงพ่อกวย วัดโฆสิตาราม ,หลวงปู่ดู่ วัดสะแก ,หลวงพ่อพรหม วัดช่องแค ,หลวงพ่อทบ วัดชนแดน ,หลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก ,หลวงพ่อสุด วัดกาหลง ,หลวงปู่ทิม วัดระหารไร่ ,หลวงปู่เขียว วัดหรงบน ,อาจารย์นำ วัดดอนศาลา และคณาจารย์ชื่อดังอีกมากมายกว่า 200 รูปร่วมปลุกเสกอีกรอบ

มีดหมอหลวงพ่อคูณ ออกวัดประโดก โคราช ปี๒๕๓๖ (โชว์)




พระพุทโธน้อยหลังยันต์เฑาะว์ดอกบัวพิมพ์เล็ก คุณแม่บุญเรือน โตงบุญเติม ปี ๒๔๙๔ (โชว์)




































...พระพุทโธน้อยเป็นพระเครื่องขนาดเล็กที่แม่ชีบุญเรือนสร้างขึ้นและอธิษฐานจิตให้ไว้แก่วัดอาวุธวิกสิตาราม ตำบลบางพลัดนอก ธนบุรี เมื่อปี 2494 เมื่อคราวช่วยสร้าง "พระพุทโธภาสชินราชจอมมุนี" พระประธานวัดสารนารถธรรมาราม อำเภอแกลง จังหวัดระยอง ได้อนุญาตให้ "พระอาจารย์สงวน โฆสโก" เจ้าอาวาสวัดอาวุธวิกสิตารามในขณะนั้น ซึ่งเป็นศิษย์ร่วมอาจารย์เดียวกันจัดสร้างพระพุทโธน้อย เพื่อแจกจ่ายแก่คณะผ้าป่าสามัคคี ปี 2494 แม่ชีบุญเรือนได้อนุโมทนาและอธิษฐานธรรมให้พร้อมทั้งขอให้สร้างเผื่อให้ด้วยจำนวนหนึ่ง เพื่อที่จะถวายพระมหารัชชมังคลาจารย์ วัดสัมพันธวงศ์ ซึ่งเป็นอาจารย์อีกด้วย

สำหรับพระพิมพ์นี้ ตามประวัติ คุณแม่บุญเรือนได้ถวายให้ท่านเจ้าอาวาสวัดสัมพันธวงศ์ ในปี 2494 จำนวน 2000 องค์ เพื่อนำมาแจกในงานฉลองพระประธานพระอุโบสถ วัดสารนาท จ.ระยอง ในปี 2499 (วัดสารนาท เป็นวัดที่เจ้าอาวาสวัดสัมพันธวงศ์ดำริให้สร้างขึ้น) โดยมีคุณแม่บุญเรือนเป็นประธานในการจัดสร้างพระประธาน "พระพุทโธภาสชินราชจอมมุนี" หรือ"พระพุทโธใหญ่" ซึ่งพระชุดนี้ ได้รับการปลุกเสกถึง 3 ครั้ง คือ 
1. คุณแม่บุญเรือนอธิษฐานจิตที่วัดอาวุธ ปี2494 
2. พิธีพุทธาภิเษก พร้อมพระสมเด็จมงคลมหาลาภ ที่วัดสัมพันธวงศ์ เดือนก.พ. ปี2499 โดยคุณแม่บุญเรือน อธิษฐานจิต ร่วมกับพระเกจิอีกมาก 
3. พิธีพุทธาภิเษก พร้อมพระสมเด็จมงคลมหาลาภ ที่วัดสารนาท จ.ระยอง เดือน มี.ค.ปี2499

...ในครั้งที่2 วัดถุมงคลทั้งหมดได้รับการทำพิธีประจุพุทธมนต์ ทิพยมน์ พรหมมนต์ จากโยคีฮาเร็บ เมื่อวันเสาร์ที่ 18 กุมภาพันธ์ 2499 ที่วัดสัมพันธวงศ์ และได้มีการสมโภชฉลองที่วัดสัมพันธวงศ์ โดยจัดงาน 4 วัน 4 คืน ระหว่างวันที่ 3 ถึง 6 มีนาคม พ.ศ.2499 พระพุทโธนี้ได้เข้าร่วมพิธี วันที่ 3 มีนาคม เป็นพิธีพุทธาพิเษกพระพุทธมงคลมหาภ พระพิมพ์แบบสมเด็จ พระพิมพ์สรงน้ำแบบพระโฆษาจาร์ย พระพุทธกวัก โดยพระอาจาร์ยผู้ทรงวิทยาคมเป็นจำนานมาก เช่น หลวงพ่อสด วัดปากน้ำ หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม หลวงพ่อนอ วัดกลางท่าเรือ หลวงพ่อสด วัดโพธิ์แตงใต้ พระอาจาร์ยแฉ่ง วัดบางพัง พระครูวินัยธร เฟื่อง ญารปปทโป วัดสัมพันธวงศ์ พระอาจาร์ยสะอาด อภิวฑฒโน วัดสัมพันธงวงศ์ หลวงพ่อเฮี้ยง วัดป่าชลบุรี พระอาจาร์ยชอบ สมสาจารี วัดอาวุธ พระครูวิเศษสรวุฒิ และอีกมากมาย 

...ในครั้งที่3 พระเครื่องชุดนี้ได้นำเข้าพิธีพุทธาภิเษก ที่พระอุโบสถวัดสารนาถธรรมาราม อ.แกลง จ.ระยอง ถึง18วัน18คืน พระคณาจารย์ปรกเป็นพระกรรมฐานสายพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ท่านอาจารย์สิงห์ ขันตะยาคะโม,อาจารย์ฝั้น อาจาโร,ท่านอาจารย์กงมา จิรปุญโญ,ท่านอาจารย์พระอริยคุณาธาร ปุสโส,ท่านอาจารย์ลี ธัมมธโร,ท่านอาจารย์สีโห,ท่านอาจารย์จันทร์ เขมปตโต,ท่านอาจารย์ตื้อ,ท่านอาจารย์อ่อน ญานสิริ,ท่านอาจารย์วัน อุตตะโม,หลวงปู่ดุลย์ วัดบูรพาราม,หลวงปู่ขาว วัดถ้ำกลองเพล ฯลฯ ประมาณ 30รูป หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี, หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม, หลวงพ่อโต วัดเขาบ่อทอง รวมถึงหลวงปู่ทิม วัดละหารไร่...พระมหารัชมังคลาจารย์ อดีตเจ้าอาวาสวัดสัมพันธวงศ์(ประธานในพิธี) หลวงพ่อลี วัดป่าคลองกุ้ง ประสานงานนิมนต์พระเกจิอาจารย์สายกรรมฐาน อธิษฐานธรรมโดย แม่ชีบุญเรือน โตงบุญเติม ประกอบพิธีบรรจุมนต์ โดย โยคี ฮาเร็บ (อาจารย์ชื่น จันทร เพ็ชร) และพ.ต.อ.ชลอ อุทกภาชน์ ผู้มีชื่อเสียงในขณะนั้น และพระคณาจารย์นอกสายคือพระวรพรต ปัญญาจารย์ วัดอรัญญิการาม ชลบุรี (พระเครื่องชุดนี้ในพิธีมีการสวดลัคขี คือบทพระพุทธคุณหนึ่งแสนจบ อีกด้วย)
***-ที่มา ;หนังสืออนูสรณ์ งานพระราชทานเพลิงศพ พระเทพวิสุทธิญาณ (ไฉน ฐิตาภิญโญ )ข้อมูลผิดพลาดประการใดต้องข้อโทษมานะที่นี้ด้วยครับ

...โบสถ์วัดสารนาถธรรมารามนี้กว้างใหญ่มากขนาดฐานพระประธานก็เท่ากับโบสถ์ ธรรมดาหนึ่งหลังแล้ว ขณะประกอบพิธีได้ประมาณ 7 วัน โคมไฟติดเพดานเกิดล่วงหล่นลงมาในระดับสูงและเป็นโคมแก้วแต่ก็ไม่แตกเสียหาย นับเป็นอิทธิวัตถุที่ทรงพลังยิ่งใหญ่แห่งยุครัตนโกสินทร์ แต่ของดีมันอาภัพ พลังคุ้มครองทางแคล้วคลาดสูงมากไม่แพ้พระรอดมหาวัน เมื่อใช้กรรมวิธีทางปรจิตตรวจดูทางในปรากฎนิมิตเป็นพระพุทธรูป กั้นด้วยนพปดลเสวตฉัตร(มหาเสวตฉัตรเก้าชั้น)ซึ่งไม่เคยพบในพระสมเด็จและวัด ใดๆ นอกจากพระพิมพ์ซึ่งเสกโดยพระโลกอุดรหรือหลวงพ่อดำผู้เหาะเหินเดินฟ้า อาจารย์ของหลวงพ่อโพรงโพธิ์ และหลวงพ่อโพรงโพธิ์เป็นอาจารย์ของหลวงพ่อวัดมะขามเฒ่าและหลวงพ่อเงิน บางคลาน

...พูดง่ายๆก็คือ พระพิธีนี้ เป็นการผนึกกำลังของพระสาย"เกจิ"และ"อริยะ" ระดับสุดยอดมากเป็นประวัติการณ์ ยิ่งกว่า"พระ 25 ศตวรรษ"เสียด้วยซ้ำ (พระ 25 ศตวรรษจะมีสายวิทยาคมเสียโดยมาก แต่สายกรรมฐานมีน้อยกว่า และเสกกันเพียง 3 วัน และครั้งเดียวที่วัดสุทัศน์เท่านั้น)...เป็นพระที่ตรวจพบว่าอยู่ในชั้นนพปดลเสวตฉัตรเช่นเดียวกับพระหลวงปู่ใหญ่พระ ครูโลกอุดร แต่รังสีไม่ใช่ทองคำเป็นสีเขียว เรื่องแคล้วคลาดอย่าบอกใครด้วยฤาษีนารอทท่านนั่งมองอยู่ ไม่ต้องเที่ยวแสวงหาพระรอดมหาวันให้เหนื่อยยาก 

...ด้วยเหตุดังกล่าวมา พิธีพุทธชัยมังคลาภิเษกพระประธานวัดสารนาถธรรมารามในครั้งนั้น จึงเป็นพิธีที่เหมือนจะเป็นการ"ประลองฤทธิ์"กันแบบสุดๆระหว่าง "ท่านพ่อลี วัดอโศการาม" พระอริยเถระผู้ยิ่งด้วยบุญฤทธิ์ เป็น"เจ้าพิธีฝ่ายบรรพชิต" กับ"คุณแม่บุญเรือน โตงบุญเติม" ยอดหญิงอริยะผู้ยิ่งด้วยอิทธิฤทธิ์เป็น"เจ้าพิธีฝ่ายฆราวาส" อีกทั้งพระอริยคณาจารย์ชั้นสุดยอดที่ได้รับอาราธนานิมนต์ตลอดจนเทพพรหมที่ ได้เสด็จมาร่วมอนุโมทนาอย่างหาประมาณมิได้อีกต่างหากด้วย จึงเป็นอีกหนึ่งในเครื่องสถิตย์แห่งพลังจิตที่ทรงมหิทธิฤทธิ์แห่งพระ อริยบุคคลผู้ทรง"อภิญญาใหญ่"ยุคกึ่งพุทธกาลทั้งโดยฝ่าย"พระ"และฝ่าย"เทพ" อย่างยอดยิ่งที่สุด หาใดเสมอเหมือนมิได้มีอีกแล้วอย่างแท้จริง..... 

และที่น่าสนใจเป็นพิเศษก็คือ
จะว่าไป พระพุทโธน้อยหลังยันต์เฑาะว์หรือหลังเรียบซึ่งได้นำเข้าพิธีโสฬสมหาพรหมเสกพร้อมกับ"พระพุทโธใหญ่"(พระพุทโธภาสชินราชจอมมุนี วัดสารนาถธรรมาราม ระยอง)นี้ ให้ตกอยู่กับผู้มีบุญวาสนาพิเศษเป็นการเฉพาะเท่านั้น...แต่ก่อน คนทั่วไปแทบจะไม่เหลียวแลสนใจไยดีกับพระพุทโธน้อยหลังยันต์เฑาะว์หรือหลังเรียบเลย เพราะถือว่าไม่ใช่หลังยันต์"พุทโธ"ตามปกติ 

หลวงปู่ทิม อิสริโก วัดระหารไร่ จ.ระยอง ท่านกล่าวไว้ว่า
"ยันต์เฑาะว์นี้ เป็นยันต์แก้วสารพัดนึก เป็นของวิเศษที่มีพุทธคุณสูงมาก"
"พระธรรมในพระพุทธศาสนาของพระพุทธองค์ทั้ง 84,000 พระธรรมขันธ์ ล้วนสรุปรวบยอดลงในยันต์เฑาะว์ตัวเดียวนี่แหละ..!!!!!"

ลูกศิษย์หลวงปู่คำพันธ์ วัดธาตุมหาชัย นครพนมท่านหนึ่ง ซึ่งเป็นหลานคุณแม่ชีแก้วเสียงล้ำ ได้เล่าให้ฟังว่า เคยเอา"พระมงคลมหาลาภ"ให้หลวงปู่คำพันธ์เสกในพิธีพุทธาภิเษกทางภาคอีสานพิธีหนึ่ง แต่หลวงปู่คำพันธ์ไม่เสกก่อนเรียกหาขันธ์ 5 มาบูชาแล้วกราบลง 3 ครั้งต่อหน้าผู้คนจำนวนมาก พลางได้ตรวจพลังและใช้ญาณทัศนะอันแจ่มใสส่องย้อนอดีตดูพิธีกรรมการจัดสร้างและผู้ร่วมพิธีอย่างละเอียดและทะลุปรุโปร่งถูกต้องแม่นยำอย่างน่าขนลุกที่สุด ทั้งๆที่หลวงปู่ท่านไม่เคยรู้จักพระชุดนี้มาก่อนแม้แต่น้อย

"อุบาสิกาคนนี้ประเสริฐนัก อำนาจจิตหรือก็แก่กล้า ขนาดพระสายกรรมฐานอย่างเรา ก็ยังไม่แน่ว่าจะเอาเธอลงหรืออยู่มือได้..!!!!????!!!!!"
และ
"เรากำหนดจิตดูอุบาสิกาคนนี้ทีไร จะนิมิตเห็นเธอนั่งเฝ้าองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าอยู่ทุกครั้งไป..!!!!!!!!!!!!!!!!!!"
...หลวงปู่ฝั้น อาจาโร วัดป่าอุดมสมพร สกลนครเล่าได้นายทหารอาวุโสชั้นผู้ใหญ่ซึ่งเป็นศิษย์ใกล้ชิดท่านหนึ่งฟัง หลังจากหลวงปู่ฝั้นไปนั่งปรกพุทธาภิเษกที่วัดสารนาถธรรมารามเมื่อปีพ.ศ.2506 และได้พบกับคุณแม่บุญเรือนด้วยในครั้งนั้น

พระชัยวัฒน์เนื้อนวะ สมเด็จย่า 90 พรรษา ปี๒๕๓๓ พระที่ได้จัดสร้างขึ้นเพื่อฉลอง90พรรษาสมเด็จย่ามีดังนี้ 1.พระกริ่งใหญ่ เนื้อทองคำและนวโลหะ 2.พระชัยวัฒน์ เนื้อทองคำและนวโลหะ 3.พระปางสมาธิสุโขทัย เนื้อทองคำและนวโลหะ พิธีการในการสร้างได้กำหนด 3พิธีด้วยกัน 1.พิธีลงทองและพุทธาภิเษกแผ่นพระยันต์ ประกอบพิธีวันที่19 มิถุนายน 2533 ณ อุโบสถวัดปริวาส โดยพระญาณโพธิ(เข็ม) ลงทองแผ่นยันต์108 นะปะถะมัง14นะ ดวงประสูติและตรัสรู้สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า 2.พิธีเททองและพุทธาภิเษก ประกอบพิธีวันที่ 18 สิงหาคม 2533 ณ วัดสุทัศน์เทพวราราม โดยมีสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช เสด็จเป็นองค์ประธานและทรงนั่งปรกพร้อมพระคณาจารย์อื่นๆผู้ทรงคุณนั่งปรกบริกรรมภาวนารวม 28 รูป จำนวนเท่ากับพระพุทธเจ้า 28พระองค์ ตั้งแต่เวลา 6.00 น.ถึง 6.09 น.วันรุ่นขึ้น และก่อนหน้าพิธีได้กราบบังคมทูลพระบาทสมเด้จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระสุหร่าย แผ่นพระยันต์ทั้งหมด ตลอดจนเจิมแผ่นทองคำอีกด้วย 3.พิธีพุทธาภิเษก ที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ได้กราบบังคมทูลเชิญพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเป็นองค์ประธาน เมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 2533